วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 4 การสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม

กิจกรรม
1. แนวคิดเกี่ยวกับความความเท่าเทียมกันในสังคม
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
2. หลักการของความเป็นธรรมในสังคม
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
3. วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
4. ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3ความยุติธรรมในสังคม

กิจกรรม
1. แนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาค
ตอบ  การที่บุคคลหรือประชาชนที่อยู่ในสถานะเดียวกัน ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับ หรือการใช้การบริการสาธารณะได้อย่างเดียวกันภายใต้ระเบียบเดียวกัน ซึ่งตัวแทนของรัฐบาลหรือข้าราชการของรัฐ ไม่สามารถที่จะเลือกปฏิบัติหรือการให้บริการกับประชาชนเฉพาะคนใด คนหนึ่งได้
2. หลักการเกี่ยวกับความยุติธรรม
ตอบ 
3. วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
ตอบ  การรับคนงานเข้าทำงานในหน้าที่ต่างๆที่ส่วนมากผู้ชายจะได้เปรียบมากกว่าผู้หญิงจึงทำให้ผู้หญิงต้องขยันเป็น2เท่ากว่าผู้ชาย
4. ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ตอบ  สิทธิความเสมอภาคระหว่างชายหญิง

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคม

กิจกรรม
1. แนวคิดเกี่ยวกับพลเมืองดี
  ตอบ   การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย สมาชิกทุกคนจะต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนทั้งต่อตนเอง ต่อครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ รู้จัก การทำงานร่วมกันมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในกิจกรรมทางสังคม ดูแลรักษาสาธารณประโยชน์ สิ่งแวดล้อมของชุมชนและประเทศชาติ นำหลักคุณธรรมมาใช้ ในกระบวนการทางประชาธิปไตย ซึ่งถ้าทุกคนตระหนักถึงความสำคัญและปฏิบัติตน เป็นพลเมืองที่ดีทั้งต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติแล้ว ย่อมเป็นสิ่งจรรโลงให้การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีความมั่นคงยืนนานตลอดไปและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่าง มีความสงบสุข

2. หลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชน
 ตอบ      1. สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิเฉพะของมนุษย์แต่ละคนที่ไม่สามารถโอนให้กันและกันได้
2. สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ และต้องพึ่งพิงกันและกัน
3. สิทธิมนุษยชน เป็นวิถีทางที่นำไปสู่สันติภาพและพัฒนาที่ยั่งยืน
4. สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่บุคคลพึงมีในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5. สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีความเท่าเทียมกันอย่างเป็นสากลและตลอดไป


3. การปกครองระบอบประชาธิปไตย
ตอบ    การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นในสมัยกรีกโบราณ โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- ลักษณะทางสังคม คือ ความเสมอภาคในการดำเนินชีวิต ทุกคนมีส่วนเท่าเทียมกัน
- ลักษณะทางเศรษฐกิจ คือ ประชาชนมีโอกาสจะได้รับประโยชน์สุขทางเศรษฐกิจ
- ลักษณะทางการเมือง คือ ประชาชนมีสิทธิทาการเมือง เช่น การออกเสียงเลือกตั้ง

4. วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
ตอบ  คนบางกลุ่มในสังคมไม่ปฏิบัติตามกฎหมายตามหน้าที่บทบาทของตนจึงเกิดการขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนในสังคม

5. ประเด็นที่เชื่อมโยงเรื่องราว และมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างในระดับท้องถิ่นกับระดับโลก ในภาพกว้าง
ตอบ  กลุ่มคนบางกลุ่มเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1ความเป็นพลเมืองโลก

กิจกรรม

1. แนวคิดเกี่ยวกับสังคม  เป็นความคิดเกี่ยวกับการสอบถามหรือปัญหาทางสังคมของบุคคลต่างๆไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบัน เป็นการคิดร่วมกันของเพื่อนหรือผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์ เป็นความคิดของแต่ละคนและของกลุ่มคน ในเรื่องรอบตัวมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ของสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัยก็ต้องคิด เพื่อหาทางแกปัญหาหรือทำให้ปัญหาบรรเทาลง ความคิดความอ่านที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาแล้ว และใช้การได้ดี ก็จะได้รับการเก็บรักษาสืบทอดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
2. หลักการทฤษฎี ทางสังคม

คำอธิบายเรื่องของคนและความสัมพันธ์ระหว่างคนตามหลักเหตุผล และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของคน หรือระหว่างคนต่อคน คนต่อกลุ่ม คนต่อสภาพแวดล้อม อย่างมีระบบจนสามารถพยากรณ์ได้

3. สถาบันทางสังคม

       องค์กรหรือกฎเกณฑ์และระเบียบแบแผนของสังคมที่ใช้เป็นแนวทางในการจัดระเบียบความประพฤติหรือติดต่อระหว่างกันของสมาชิกในสังคม ซึ่งบุคคลในสังคมจัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่าเป็นการตอบสนองความจำเป็นในด้านต่าง ๆ ของสังคมและแก่วิถีชีวิตของสมาชิกในสังคม โดยสถาบันสังคมที่กล่าวถึงนี้ปรากฎได้ทั้งที่เป็นแบบรูปธรรม หมายถึง องค์กร เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท เป็นต้น และ แบบนามธรรม หมายถึง กฎเกณฑ์และระเบียบแบบแผนที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคม
หนึ่ง ๆ

4. บทบาทสมาชิกในสังคม


สมาชิกทุกคนในสังคมย่อมต้องมีบทบาทหน้าที่ตามสถานภาพของตน ซึ่งบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป แต่ในหลักใหญ่และรายละเอียดจะเหมือนกัน ถ้าสมาชิกทุกคนในสังคมได้ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องก็จะได้ชื่อว่าเป็น "พลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติ" และยังส่งผลให้ประเทศชาติพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น สมาชิกในสังคมทุกคน โดยเฉพาะเยาวชนที่ถือว่าเป็นอนาคตของชาติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตน เพื่อช่วยนำพาประเทศชาติให้พัฒนาสืบไป


5. วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน

คิดว่าสังคมในปัจจุบันนี้เลวร้ายลงกว่าเดิมเพราะว่ามีการแข่งขันกันมากต่างก็ชิงดีชิงเด่นจึงทำให้คนในสังคมไม่มีความสามัคคีปรองดองซึ่งกันและกัน

6. ประเด็นที่เชื่อมโยงเรื่องราว และมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง

เศรษฐกิจตกต่ำผู้คนต่างก็แข่งขันกันเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง